วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ


อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาเลือด

หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ปั้มเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและปั้มเลือดไปปอดเพื่อฟอกเลือด ในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องได้รับ สารอาหารและ oxygen จากหลอดเลือด coronary arteries ซึ่งมีอยู่ 3 เส้น ถ้าหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดอุดด้วยลิ่มเลือด หรือตีบตันจากหลอดเลือดแข็งทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด ภายใน 20 นาทีกล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะตาย

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
ภาพตัดขวางของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งมีการตีบ50% เมือมีการหดเกร็งของหลอดเลือดดังภาพซ้ายก็เกิดอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก Rest angina ส่วนภาพกลางมีการตีบ75%ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย Exercise-induced angina ส่วนภาพขวามีการตีบ 30%และไม่มีการหดเกร็งของหลอดเลือดจึงไม่เจ็บหน้าอก

จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด จะมีอาการเตือนก่อนเกิดการอุดตันประมาณ 1 เดือน และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการแน่หน้าอก สำหรับผู้หญิง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอาการอาจจะไม่เหมือนผู้ป่วยทั่วไปเช่น บางคนมาด้วยอาการเพลีย กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน อาการอาจจะมากน้อยต่างกัน
อาการที่สำคัญคือ
  1. ผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการแน่นหน้าอก angina pectoris คล้ายมีของหนักทับหน้าอก บางคนบอกคล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บใต้กระดูกด้านซ้าย อาจเจ็บร้าวถึงขากรรไกรและแขนซ้ายอาการเจ็บมักจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกายเช่นวิ่งตามรถเมล์ เดินขึ้นสะพานลอย ยกของหนัก ภาวะเครียดจัด อาการเจ็บมักไม่เกิน 15-30นาทีและอมยาแล้วหายปวด พักแล้วอาการเจ็บจะหาย ทำให้คนทั่วไปคิดว่าไม่เป็นไร
  2. บางท่านอาจจะมาด้วยอาการเจ็บร้าวไปไหล่ คอ ขากรรไกร หลัง
  3. บางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องโดยเฉพาะอาจจะเจ็บหน้าอกร้าวมาบริเวณลิ้มปี่
  4. อาจจะมีอาการหายใจเหนื่อยหรือหอบ หายใจไม่ออก เหนื่อย นอนราบไม่ได้เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายมาก ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอหรือจะเรียกว่าหัวใจวายก็ได้
  5. เวียนศรีษะ หน้ามืดจะเป็นลม หรือหมดสติเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
  6. คลื่นไส้อาเจียน
  7. เหงื่อออก
หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกและมีอาการดังกล่าวข้างต้นเป็นครั้งแรกท่านต้องไปพบแพทย์ แต่หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกมานานและความรุนแรงไม่ได้เปลี่ยนแปลง ท่านอาจจะรับประทานยาเก่าต่อและปรึกษาแพทย์
คำแนะนำสำหรับอาการเจ็บหน้าอก
  1. ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกและสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดไม่ควรจะปรึกษาทางโทรศัพท์ ควรจะไปพบพทย์เพื่อประเมินอาการ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเจาะเลือด
  2. ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ควรจะรีบตามรถพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือตามยาติให้นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  3. ในรถพยาบาล หรือที่บ้านควรจะมี ASA ขนาด 300 มกไว้หากมีอาการเจ็บหน้าอกที่เหมือนกับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ให้เคี้ยวและกลืนทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีข้อห้ามในการให้ ASA
  4. สำหรับผู้ที่เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อน เมื่อเจ็บหน้าอกให้อมยา Nitroglycerin 1 เม็ดหากอาการปวดไม่หายให้โทรแจ้งรถพยาบาลทันทีก่อนที่จะอมยาเม็ดที่ 2 สำหรับผู้ที่อมยาแล้วหายปวดให้อมยาทุก 5 นาทีจำนวน 3 ครั้งหากอาการไม่ดีขึ้นให้ตามรถพยาบาล
  5. สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมกับอาการต่างๆได้แก่ เจ็บนานเกิน 20 นาที ความดันโลหิตต่ำ หน้ามือเป็นลม หายใจเหนื่อย ต้องรีบไปโรงพยาบาล
สำหรับท่านที่มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ก่อนหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า unstable angina
  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากกว่าครั้งก่อนๆ
  • เจ็บครั้งนานกว่า 30 นาที
  • เจ็บครั้งนี้เกิดขณะพัก
  • เจ็บครั้งนี้อมยาแล้วไม่หายเจ็บ
  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากจนเหงื่อออก เป็นลม หรือหายใจหอบ
นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยคือ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืดเป็นลม ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยเบาหวานบางรายไม่มีอาการแน่นหน้าอกแต่มาด้วยอาการใจสั่น เป็นลมหรืออาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยดังนี้
  • อาจะปวดจุกท้องบริเวณลิมปี่
  • หายใจไม่พอ หายใจสั้นๆ
  • กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย
  • ใจสั่นเหงื่อออก
ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจะพบแพทย์เมื่อไร
สำหรับท่านทมีโรคซึ่งเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และเป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ ท่านอาจจะสังเกตุว่าหากทำงานถึงระดับหนึ่งจะมีอาการแน่หน้าอก พักสักครู่ก็หายดดยที่ไม่ต้องอมยาใต้ลิ้น แต่หากอาการเจ็บหน้าอกของท่านเปลี่ยนไปดังต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์
  • เจ็บหน้าอกขณะพัก
  • เจ็บแต่ละครั้งนานกว่าปกติอาจจะเจ็บนานถึง20 นาที
  • อาการเจ็บจะมากกว่าเก่ามาก
  • เจ็บจนเหงื่อออก
  • เจ็บจนเป็นลมหรือหน้ามืด
  • อมยาใต้ลิ้นแล้วไม่หายปวด หรือต้องอมบ่อย
  • มีอาการของหัวใจวาย อ่านเรื่องหัวใจวาย
หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบแพทย์
สำหรับท่านที่ไม่เคยเจ็บหน้าอกมาก่อนหากมีอาการเจ็บหน้าอกโดยเแพาะตรงกลางหน้าอก และอาจจะมีอาการเจ็บร้าวไปแขนหรือคอ แม้ว่าจะพักแล้วหาย ท่านต้องไปพบแพทย์ตรวจและจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อตรวจโรค

กลไกการเกิดโรค                                ความเสี่ยงของการเกิดโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น